fbpx

“หมอคู่คิดส์” แอปฯ หมอเด็กออนไลน์

โรคหัด ภัยร้ายในเด็ก ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

โรคหัด_1

โรคหัด ภัยร้ายในเด็ก ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

โดย : หมอคู่คิดส์ | 5 กันยายน 2024 | บทความทางการแพทย์

Highlight
– โรคหัด เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยในเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 0-4 ปี
– ติดต่อได้จากละอองฝอยขนาดเล็กและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
– อาการมีระยะก่อนออกผื่น 8-12 วัน และมีอาการป่วยประมาณ 2 สัปดาห์
– อาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด ก่อนจะมีอาการออกผื่นตามร่างกาย
– ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แต่สามารถกินยาตามอาการได้
– วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือการพาลูกฉีดไปวัคซีน MMR ตามช่วงอายุที่กำหนด

โรคหัด_1

พ่อแม่หลายคนคงเคยได้ชื่อโรคหัดกันมานานแล้ว และอาจคิดว่าโรคนี้มีการเกิดขึ้นน้อยลง แต่ความจริงแล้วโรคหัดในเด็ก ยังสามารถเกิดขึ้นได้อยู่ และพบการระบาดอย่างต่อเนื่องในบางพื้นที่ของประเทศไทย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรมองข้าม และหมั่นตรวจเช็กอาการลูกน้อยอยู่เสมอ โดยในบทความนี้เราจะมาพูดถึงโรคหัดกันเบาะลึก ทั้งในเรื่องของอาการ การดูแล การป้องกัน รวมไปถึงการฉีดวัคซีน

โรคหัด เกิดจากอะไร

โรคหัด เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส Measles พบบ่อยในเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 0-4 ปี โดยเชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ติดต่อได้จากละอองฝอยขนาดเล็กในอาการ รวมถึงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผูัป่วย ซึ่งเชื่อไวรัสตัวนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 2 ชั่วโมงในอากาศ หรือบนพื้นผิวสิ่งของ

โรคหัด มีอาการอย่างไร

อาการของโรคหัดเกิดขึ้นภายในช่วง 2-3 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่เด็กติดเชื้อจนไปถึงช่วงที่หายเป็นปกติ สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ได้ดังนี้

ระยะติดเชื้อและฟักตัวของโรค

เชื้อไวรัสหัดใช้เวลาฟักตัว 10-14 วัน หลังจากที่ได้รับเชื้อ ซึ่งในช่วงแรกนี้จะเป็นระยะที่ยังไม่แสดงอาการมากนัก

ระยะก่อนออกผื่น

เริ่มต้นด้วยอาการคล้ายไข้หวัด จากการเป็นไข้ ไอแห้ง น้ำมูกไหล เจ็บคอ ตาแดง ตาไม่สามารถสู้แสงได้ รวมไปถึงการพบจุดสีเทาขาวในกระพุ้งแก้ม บริเวณใกล้กับฟันกรามล่าง บางรายอาจมีการถ่ายเหลวร่วมด้วย โดยระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน

ระยะออกผื่น

จะมีผื่นสีแดงขนาดเล็กและแบนราบขึ้นติดกันหลายจุด แต่ไม่มีอาการคัน โดยผื่นดังกล่าวมักเริ่มขึ้นที่บริเวณหลังใบหู ไรผม ก่อนจะกระจายลงมาที่ลำคอ แขน ลำตัว ขา และเท้า ซึ่งระยะเวลาที่ผื่นจะลามไปยังจุดต่างๆ ของร่างกายนั้นอยู่ที่ประมาณ 2-3 วัน พร้อมมีอาการไข้สูงประมาณ 40 – 41 องศาเซลเซียส ร่วมด้วย ต่อมาผื่นจะค่อยๆ จางลง จากสีแดงกลายเป็นสีน้ำตาล และค่อยๆ ลอกเป็นแผ่นบางๆ จนหายไปในระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน

ระยะติดต่อ

สำหรับคนที่เป็นโรคหัดสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่นได้ประมาณ 8 วัน คือตั้งแต่ 4 วันก่อนผื่นขึ้น และ 4 วันหลังจากผื่นขึ้น

โรคหัด เกิดอาการแทรกซ้อนได้ไหม

สำหรับผู้ป่วยโรคหัดสามารถมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ประมาณร้อยละ 5 ของเด็กที่เป็นโรคนี้ โดยอาการแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อย มีดังนี้

  • หูอักเสบ
  • หลอดลมอักเสบ
  • ปวดบวม หรือปอดอักเสบ
  • ลำไส้อักเสบ
  • สมองอักเสบ

วิธีรักษาโรคหัด

ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสของโรคหัดโดยเฉพาะ และส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักไม่มีอาการรุนแรง การรักษาโรคหัดจึงเน้นไปที่การรักษาตามอาการเหมือนเป็นไข้หวัดทั่วไป เช่น เช็ดตัวลดไข้ กินยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการอื่นๆ รวมไปถึงการดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากอาการของลูกน้อยยังไม่ดีขึ้น หรือมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้น ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน

โรคหัด_3

การป้องกันและการดูแลลูกที่เป็นโรคหัด

  • ดื่มน้ำมากๆ ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น เช็ดรอบตาเบาๆ
  • กินยารักษาตามอาการ
  • พักผ่อนในที่แสงน้อย ไม่ให้แสงแยงตา
  • แยกผู้ป่วยโรคหัด ออกจากผู้อื่น
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด และสวมหน้ากากอนามัย
  • หมั่นเช็กอาการลูกอย่างใกล้ชิด
โรคหัด_4

วัคซีนป้องกันโรคหัด

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยป้องกันโรคหัดได้คือการฉีดวัคซีน ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันโรคหัด โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้เด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ซึ่งเป็นวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน หรือที่เรียกกันว่าวัคซีน MMR

คุณสมบัติของวัคซีน

ผลิตจากเชื้อไวรัสหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ที่ยังมีชีวิตแต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลง จนไม่สามารถก่อโรคได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดี

ควรพาลูกไปฉีดวัคซีนตั้งแต่ตอนไหน

  • เข็มแรก – ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-12 เดือน
  • เข็มสอง – ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี 6 เดือน

*หากลูกมีไข้ ควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อน*

นอกจากนี้หมอคู่คิดส์ยังมีบริการฟรีภายในแอปฯ “บันทึกวัคซีนลูกน้อย” ที่เปรียบเสมือนเป็นไดอารีในมือถือ ให้คุณพ่อคุณแม่ได้บันทึกทุกวัคซีนที่ลูกต้องฉีดในแต่ละช่วงวัย พร้อมบริการแจ้งเตือนเมื่อถึงช่วงอายุที่ลูกต้องฉีดวัคซีน หมดปัญหาการลืม จบทุกความกังวลใจ

กดดูข้อมูลเพิ่มเติม >> บริการบันทึกวัคซีนลูก

บริการบันทึกวัคซีนลูก_หมอคู่คิดส์

โรคหัด กับ หัดกุหลาบ แตกต่างกันอย่างไร

โรคหัดและหัดกุหลาบ หรือที่เรียกว่าโรคส่าไข้ (Roseola Infantum) แม้ว่าจะมีลักษณะอาการคล้ายคลึงกันและมักมีผื่นแดงปรากฏบนผิวหนัง แต่ทั้งสองโรคนี้ไม่ใช่โรคเดียวกัน โดยโรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Morbillivirus ส่วนหัดกุหลาบเกิดจากเชื้อไวรัส Human Herpesvirus type 6 (HHV-6) ซึ่งเป็นไวรัสคนละชนิดกัน

โรคหัดเยอรมัน เหมือนกับโรคหัดปกติหรือไม่

โรคหัดและโรคหัดเยอรมัน (Rubella) ถึงแม้จะมีคำว่า “หัด” อยู่ในชื่อเหมือนกัน แต่ทั้งสองโรคนี้ไม่ได้เป็นโรคเดียวกัน เนื่องจากสาเหตุของโรคมาจากเชื้อไวรัสที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีอาการคล้ายกัน โดยจะมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง นอกจากนี้ความรุนแรงของทั้งสองโรคยังแตกต่างกันด้วย โดยหัดเยอรมันมักจะมีความรุนแรงน้อยกว่าหัด

สรุปเรื่องโรคหัดในเด็ก

โรคหัดยังคงไม่ได้หายไปไหน ยังสามารถเกิดการระบาดได้อยู่ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตอาการของลูกน้อยอยู่เสมอ แต่สำคัญที่สุดคืออย่าลืมพาลูกน้อยไปรับวัคซีนโรคหัดตามเกณฑ์อายุที่กำหนด เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการป้องกันการเป็นโรคนี้ ลูกน้อยจะได้มีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง

คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกน้อย อาการเจ็บป่วย พัฒนาการเด็ก หรือเรื่องอื่นๆ  รวมไปถึงปัญหาสุขภาพใจหลังคลอดของคุณแม่ สามารถโหลดแอปฯ หมอคู่คิดส์ เพื่อปรึกษาแพทย์ พยาบาล จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาได้ทันที ใช้งานง่าย คุยได้ตลอด ผ่านระบบแชทและวิดีโอคอล ดาวน์โหลดและปรึกษาเลยวันนี้! ทั้งในระบบ iOS และ Android

โหลดแอปพลิเคชัน
และเริ่มปรึกษาได้เลย

“หมอคู่คิดส์” แอปฯ หมอเด็กออนไลน์

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม