fbpx

“หมอคู่คิดส์” แอปฯ หมอเด็กออนไลน์

เช็กอาการ! ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร คุณแม่ต้องกังวลแค่ไหน

ทำความรู้จัก ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

เช็กอาการ! ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร คุณแม่ต้องกังวลแค่ไหน

โดย : หมอคู่คิดส์ | 22 กุมภาพันธ์ 2024 | บทความแม่และเด็ก

หลายคนคงคุ้นเคยกับโรคซึมเศร้าที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่กับคุณแม่มือใหม่นั้น มีอาการที่เรียกว่า “ซึมเศร้าหลังคลอด” ด้วย โดยถือว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นและสามารถรักษาได้ และถือว่าภาวะดังกล่าวไม่ใช่ความอ่อนแอหรือข้อบกพร่องแต่อย่างใด โดยเราจะพาไปรู้จักกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดกันให้มากขึ้นในบทความนี้ พร้อมแนะนำบริการใหม่จากหมอคู่คิดส์ ที่ให้คุณแม่ได้ “เช็กสุขภาพใจหลังคลอด” กับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปฯ

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร

ซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) หรือ มาม่าบลู (Mama Blues) คือ ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่บางท่านต้องพบเจอหลังการคลอดน้อง โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นได้จะมีทั้งซึมเศร้า เสียใจ วิตกกังวล และอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเลี้ยงลูกหรือทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ตามปกติได้

ซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากอะไร

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของฮอร์โมน ที่มีการเปลี่ยนจากหญิงตั้งครรภ์มาเป็นคุณแม่ที่ต้องให้นมลูก บางคนมีลูกคนแรกและต้องรับบทบาทคุณแม่มือใหม่ จึงอาจจะยังปรับตัวไม่ได้ ทำให้มีความกังวลในทุกครั้งที่ลูกร้อง หรือควบคุมอาการต่างๆ ของลูกด้วยตัวเองไม่ได้ สุดท้ายจึงกลายเป็นผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคุณแม่ จนมีอารมณ์แปรปรวน

คนรอบตัวของคุณแม่หลังคลอดจึงควรทำความเข้าใจ ให้ความเข้าใจ และสังเกตอาการอยู่เสมอ แต่นี่ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดหลายๆ ท่าน

ซึมเศร้าหลังคลอด

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

การเป็นซึมเศร้าหลังคลอดอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน สภาพแวดล้อม อารมณ์ หรือพันธุกรรม นอกจากนี้การเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจเกิดได้ง่ายขึ้น หากคุณแม่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ

– เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อนแล้ว หรือเป็นโรคไบโพลาร์
– หากไม่ใช่ท้องแรก อาจเกิดขึ้นได้อีกครั้ง กับคุณแม่ที่เคยมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน
– มีสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ เคยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์
– มีปัญหาอื่นๆ ในชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียดร่วมด้วยในช่วงปีที่ผ่านมา
– เจ้าตัวน้อยไม่แข็งแรง หรือมีปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
– คุณแม่มีปัญหาเรื่องการให้นมบุตร
– ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม

อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลังคลอด ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในช่วงปีแรกหลังจากที่คลอดน้อง โดยมีอาการดังนี้

– รู้สึกเศร้า เสียใจ หมดหวัง
– อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห กระวนกระวาย
– เกิดความวิตกกังวลมากจนเกินไป
– มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากผิดปกติ
– ร้องไห้ง่ายขึ้น ร้องไห้มากกว่าปกติ หรือร้องไห้แบบไม่มีเหตุผล
– ขาดสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ การจดจำรายละเอียด หรือตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ยากขึ้น
– เริ่มเบื่อในสิ่งที่ชอบ หรือสนใจในงานอดิเรกของตัวเองน้อยลง
– รับประทานอาหารได้น้อยลง หรือรับประทานมากผิดปกติ
– เกิดปัญหาสุขภาพกายร่วมได้โดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง
– อยากอยู่คนเดียวมากขึ้น ไม่อยากพบปะใคร แม้กระทั่งคนในครอบครัว
– มีปัญหาในการสร้างความผูกพันระหว่างแม่และลูก
– กังวลว่าตัวเองลูกเลี้ยงได้ไม่ดีพอ
– มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือลูก

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด_3

ประเภทของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
เกิดจากสาเหตุที่คุณแม่ยังไม่สามารถปรับตัวได้หลังจากคลอด โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกๆ ที่เพิ่งคลอดน้อง คุณแม่จะมีความกังวลเป็นพิเศษ แต่สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา

โรคซึมเศร้าหลังคลอด
คุณแม่มักมีอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย ร้องไห้บ่อย หรือเบื่ออาหาร บางรายอาจรู้สึกว่าไม่มีความผูกพันกับลูก จนถึงขั้นอยากทำร้ายทั้งตัวเองและลูก สำหรับอาการประเภทนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป ยาวไปแบบหลายเดือน ซึ่งต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

โรคจิตหลังคลอด
ในกลุ่มนี้มักเกิดในช่วงหลังคลอด 1-4 วัน คุณแม่จะขี้โมโหง่าย ร้องไห้เก่ง หรืออยู่ดีๆ ก็กระฉับกระเฉงขึ้นมา คล้ายๆ กับโรคไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน จนบางครั้งได้ยินเสียงแว่วให้ฆ่าลูก ไม่สามารถหายเองได้ และถือเป็นกลุ่มเสี่ยง เป็นอันตรายทั้งต่อตัวแม่และลูกน้อย ต้องเข้ารับการรักษาด่วน

การวินิจฉัยอาการซึมเศร้าหลังคลอด

สำหรับคุณแม่หลังคลอดแต่ละคนมักมีอาการซึมเศร้าที่แตกต่างกันออกไป หากคุณแม่สงสัยว่าตนเองเสี่ยงจะเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดควรรีบไปพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะพูดคุยหรือสอบถามอาการต่างๆ เพื่อระบุว่าคุณแม่เป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแบบชั่วคราว หรือเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแบบรุนแรง นอกจากนี้แพทย์ยังอาจให้ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าร่วมด้วย

หรือหากไม่สะดวกเดินทาง หมอคู่คิดส์ก็มีบริการใหม่ “เช็กสุขภาพใจคุณแม่หลังคลอด” ที่พร้อมดูแลคุณแม่ที่กังวลว่าตัวเองจะมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือปัญหาสุขภาพจิตด้านต่างๆ เราก็ยินดีให้คำปรึกษา เพียงเข้าใช้งานแอปฯ เพื่อพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาได้ตลอดทั้งวัน ผ่านแชทหรือวิดีโอคอล คุยง่ายได้จากทุกที่

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด_4

การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

เบื้องต้นหากคุณแม่รู้สึกว่าตนเองเข้าข่ายการเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด อย่าอายหรือรู้สึกผิด เพราะนี่ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ และอย่ากังวลที่จะบอกเรื่องนี้กับคนในครอบครัวหรือคนที่สนิท เพื่อให้คนใกล้ตัวช่วยดูแล รวมถึงแพทย์ที่จะช่วยสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุด เพราะภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ ในขณะที่ทำการรักษา คุณแม่จะต้องดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย เช่น ออกกำลังกาย หรือเข้าร่วมกลุ่มให้คำปรึกษา

สำหรับการรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะคล้ายกับการรักษาโรคซึมเศร้า โดยวิธีการรักษาที่แพทย์นิยมใช้ มีดังนี้

จิตบำบัด
การรักษาประเภทนี้คือการพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตเวช เพื่อให้คุณแม่ได้ระบายความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำและให้กำลังใจคุณแม่หลังคลอด อีกทั้งในบางกรณีแพทย์อาจเชิญคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดของคุณแม่เข้ามาร่วมพูดคุยด้วย เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ และช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีและสบายใจยิ่งขึ้น

ยาต้านเศร้า

การใช้ยาประเภทนี้ในการรักษามักใช้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วไป แต่ในบางกรณีแพทย์อาจวินิจฉัยให้คุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดใช้ยานี้ในการรักษาด้วย แต่ก็มีอาจมีผลข้างเคียงได้ เพราะยาอาจปนเปื้อนเข้าไปในน่้ำนมจนส่งผลต่อทารก แต่ก็มียาบางชนิดเช่นกันที่ส่งผลต่อทารกน้อยดังนั้นเพื่อการรักษาที่มี่ประสิทธิภาพ คูณแม่และแพทย์จะต้องปรึกษากันถึงประโยชน์ความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการใช้ยาต้านเศร้าแต่ละชนิดด้วย

โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าการรักษาแบบไหนที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อคุณแม่มากที่สุด บางคนอาจใช้การรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางคนอาจรักษาทั้ง 2 วิธีควบคู่กันไป หากขั้นตอนการรักษาเป็นไปได้ด้วยดี คุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะดีขึ้นภายใน 6 เดือน แต่บางคนก็ใช้เวลานานกว่านั้น ส่วนรายไหนที่เป็นหนักๆ ก็อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังได้

ดังนั้นคุณแม่จึงควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนด แม้จะหายดีแล้วก็ตาม เพื่อป้องกันโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ

วิธีป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

แม้การเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด อาจจะดูน่ากลัว แต่จริงๆ แล้วคุณแม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงให้ตัวเองได้ ด้วยการดูแลสุขภาพใจและสุขภาพกายให้ดีอยู่เสมอ เพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและความเครียดที่อาจเกิดขึ้นหลังจากคลอดน้อง โดยวิธีป้องกัน ดังนี้

– รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
– หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
– ก่อนใช้ยาหรือสมุนไพรต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์
– พยายามหาเวลาพักผ่อน หรือให้คนในครอบครัวช่วยดูแลเป็นบางเวลา เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อน
– หากเคยเป็นโรคซึมเศร้าหรือเคยเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนตั้งครรภ์ หรือหากพบว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ
– หลังจากคลอดน้องแล้ว คุณแม่ท่านไหนที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าไร ก็ถือเป็นผลดีเท่านั้น

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด_5

ผลกระทบจากโรคซึมเศร้าหลังคลอด

สำหรับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้น ไม่ได้กระทบแต่กับแต่คุณแม่เท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลกระทบไปยังคนอื่นๆ ในครอบครัว รวมถึงลูกน้อยอีกด้วย

– ผลกระทบต่อคุณแม่ หากไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว หรือมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่ยาวนาน อาจส่งผลให้คุณแม่กลายเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังในอนาคตได้

– ผลกระทบต่อคุณพ่อ นี่คือหนึ่งในบุคคลที่ใกล้ชิดคุณแม่มากที่สุดอีกคนหนึ่ง และอาจเป็นคนที่ต้องค่อยรองรับอารมณ์ของคุณแม่ตลอดเวลา จนอาจทำให้คุณพ่อเกิดความเครียดสะสมเป็นของตัวเองได้ด้วย

– ผลกระทบต่อลูกน้อย หากคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแต่ไม่ได้รับการรักษา แล้วเลี้ยงลูกน้อยไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่มีอาการ อาจทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนไป เช่น ปัญหาการนอนหลับ ปัญหาการกิน ร้องไห้บ่อยเกินปกติ หรือส่งผลทางด้านพัฒนาการได้

วิธีดูแลคุณแม่หลังคลอด

คนรอบข้างก็มีส่วนสำคัญในการช่วยดูแลคุณแม่หลังคลอดได้ แถมยังเป็นส่วนช่วยสำคัญที่ป้องกันไม่ให้คุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ด้วยการให้กำลังใจคุณแม่อยู่เสมอ คอยช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระ คอยพูดคุยให้คำปรึกษา ชื่นชมยินดี ช่วยคลายความกังวล หรือให้เอ็นดูแก่เด็ก

ไม่สะดวกไปพบแพทย์ ต้องทำอย่างไร

คุณแม่บางคนอาจกังวลใจในการไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล แม้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เข้าพบจิตแพทย์นั้นจะได้รับความเป็นส่วนตัวและถูกเก็บข้อมูลเป็นความลับอยู่แล้ว แต่คุณแม่หลังคลอดบางคนก็อาจกลัวว่าในระหว่างที่เดินทางไปโรงพยาบาลนั้น อาจจะต้องเจอกับคนรู้จัก แล้วไม่อยากตอบคำถามว่าเป็นอะไร มาทำไม

ซึมเศร้าหลังคลอด หมอคู่คิดส์

ดังนั้นอีกหนึ่งวิธีที่สะดวกสุดๆ คือการปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตเวชผ่านแอปฯ หมอคู่คิดส์ ซึ่งตอนนี้เรามีบริการใหม่ “เช็กสุขภาพใจคุณแม่หลังคลอด” เพราะไม่ใช่แค่สุขภาพกายของลูกน้อยที่เราห่วงใย แต่เรายังห่วงใยสุขภาพใจของคุณแม่ด้วย ซึ่งคุณแม่สามารถปรึกษาได้ทั้งเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ได้ง่ายๆ ตลอดทั้งวันผ่านระบบแชทหรือวิดีโอคอล ปรึกษาได้จากทุกที่ ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องกลัวเจอคนรู้จัก

ขั้นตอนการใช้บริการ “เช็กสุขภาพใจคุณแม่หลังคลอด” กับหมอคู่คิดส์
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอคู่คิดส์ จาก App Store หรือ Play Store
2. ลงทะเบียนผู้ใช้งาน
3. เข้าสู่หน้าแรกของแอปฯ แล้วกดเข้าเมนู “เช็กสุขภาพใจหลังคลอด”
4. สามารถกด “ทำแบบสอบถาม” หรือ กด “ค้นหาที่ปรึกษาสุขภาพใจ” ได้ทันที
5. เมื่อเข้าสู่หน้า “ค้นหาที่ปรึกษา” แล้ว ระบบจะแสดงรายชื่อจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ที่ว่างอยู่ ณ ขณะนั้น โดยผู้ใช้งานสามารถกดที่รายชื่อแล้วทำการปรึกษาได้เลย

สรุปเรื่องราวภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

อาการซึมเศร้าหลังคลอดจริงๆ แล้วถือเป็นเรื่องปกติ และสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน อันดับแรกเลยคือคุณแม่ต้องดูแลสุขภายใจและสุขภาพกายของตัวเองให้ดี พยายามอย่าเครียด หาสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลาย แต่หากหลีกเลี่ยงความเครียดไม่ได้จริงๆ จนเกิดเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อย่าอายและอย่ากังวล แต่ให้รีบปรึกษาแพทย์และทำการรักษา เพื่อป้องกันไปสู่อาการที่เรื้อรัง และเพื่อความสุขของคุณแม่และลูกน้อย

ไม่แน่ใจว่าอาการแบบนี้ใช่ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไหมนะ? สามารถโหลดแอปฯ หมอคู่คิดส์ เพื่อใช้บริการ “เช็กสุขภาพใจคุณแม่หลังคลอด” ได้ทันที เรามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำผ่านระบบแชทและวิดีโอคอล ดาวน์โหลดและปรึกษาเลยวันนี้! ทั้งในระบบ iOS และ Android

โหลดแอปพลิเคชัน
และเริ่มปรึกษาได้เลย

“หมอคู่คิดส์” แอปฯ หมอเด็กออนไลน์

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม