“หมอคู่คิดส์” แอปฯ หมอเด็กออนไลน์
โดย : หมอคู่คิดส์ | 31 มีนาคม 2025 | บทความแม่และเด็ก
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมียนมาร์เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 จนสร้างแรงสั่นสะเทือนมาถึงประเทศไทย ถือเป็นสิ่งที่หลายคนไม่คาดคิดและไม่ได้เตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น แต่เมื่อแผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นแล้ว ก็เปรียบเสมือนเป็นบทเรียนให้ทุกคนได้ระวังมากขึ้น เพื่อดูแลลูกน้อยและคนในครอบครัวให้ปลอดภัย โดยในบทความจะมาแนะนำถึงวิธีการรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจลูกน้อยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
– การตั้งสติคือสิ่งที่สำคัญที่สุด และไม่ควรวิ่งเข้าๆ ออกๆ บ้าน เพราะอาจเสี่ยงได้รับการบาดเจ็บ
– หากอยู่ในอาคาร ให้หมอบลง คลานไปยังที่กำบังที่แข็งแรง เช่น ใต้โต๊ะ และยึดเกาะให้มั่นคง อยู่ห่างจากหน้าต่าง กระจก และสิ่งของที่อาจล้มทับได้ รอจนกว่าแผ่นดินไหวจะหยุดจึงค่อยอพยพออกจากอาคาร
– หากอยู่นอกอาคาร ให้ออกห่างจากอาคาร สายไฟ และต้นไม้ใหญ่ หาพื้นที่โล่งแจ้งที่ปลอดภัย ระวังสิ่งของที่อาจร่วงหล่นลงมา
– หากอยู่ในรถ ให้จอดรถในที่ปลอดภัย ห่างจากอาคาร สะพาน และต้นไม้ใหญ่ อยู่ในรถจนกว่าแผ่นดินไหวจะหยุด
– หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และป้ายแขวนต่างๆ
– งดใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด เพราะเมื่อสายไฟฟ้าขาด อาจเสี่ยงต่อการติดอยู่ในลิฟต์ รวมถึงควันไฟอาจเข้ามาในลิฟต์
– หากขับรถอยู่ ให้หยุดรถและควรอยู่ภายในรถ จนกว่าแรงสั่นสะเทือนจะหยุดลง
– ไม่ควรอยู่ใกล้ชายฝั่ง เพราะมีความเสี่ยงที่คลื่นยักษ์จะซัดเข้าชายฝั่ง ในกรณีที่มีการเกิดแผ่นดินไหวกลางทะเล
– ห้ามใช้เทียนและไม้ขีดไฟ รวมถึงสิ่งที่ก่อให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ในบริเวณต่างๆ
– สังเกตลูกและคนในครอบครัว ว่ามีใครได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หากมีแผล ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน
– หากอาคารที่อาศัยอยู่ได้รับความเสียหาย ให้รีบออกจากอาคารโดยด่วน เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งหรือมีอาฟเตอร์ช็อกตามมา อาคารอาจถล่มได้
– สวมรองเท้าที่มิดชิดให้ลูกและตนเอง เพราะอาจเหยียบโดนของมีคม เศษแก้ว
– เช็กท่อน้ำ ท่อแก๊ส และสายไฟ หากแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ และห้ามจุดไฟโดยเด็ดขาด จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
– ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด โดยให้ตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เพื่องป้องกันการได้รับข้อมูลจากข่าวลือ
– สังเกตว่าลูกมีอาการหวาดกลัวไหม
– หากลูกยังกลัว ให้กอดหรือปลอบ เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับเขา
– อธิบายเหตุการณ์แผ่นดินไหวให้ลูกเข้าใจตามความจริง ด้วยภาษาที่เหมาะสมกับวัย หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่รุนแรง หรือทำให้ลูกเกิดความกลัวมากขึ้น
– พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน ให้เขารู้สึกสบายใจ
– ถ้าลูกยังไม่พร้อมคุย ควรให้เวลากับเขา ยังไม่ต้องคาดคั้น
– เลี่ยงการพูดคำว่า “อย่าไปกลัว” เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกว่าความรู้สึกของเขาถูกมองข้าม หรือดูเป็นคนขี้ขลาด
– สอนวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น อธิบายให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับแผ่นดินไหวด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย สอนวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เช่น การหมอบลง หาที่กำบัง และการอพยพ ฝึกซ้อมกับลูกเป็นประจำ เพื่อให้ลูกคุ้นเคยและไม่ตื่นตระหนกเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง
– งดให้ลูกดูภาพข่าวต่างๆ เพราะอาจทำให้เกิดความหวาดกลัวได้
การรับมือกับแผ่นดินไหวไม่เพียงแต่เน้นไปที่คุณภาพความปลอดภัยทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการให้ความสำคัญกับสุขภาพใจและอารมณ์ของเด็ก โดยการเตรียมตัวที่ดี การให้ความรู้ การดูแลทางด้านอารมณ์ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้เด็กสามารถเผชิญกับแผ่นดินไหวได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้น
คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกน้อย อาการเจ็บป่วย พัฒนาการเด็ก หรือเรื่องอื่นๆ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพใจหลังคลอดของคุณแม่ สามารถโหลดแอปฯ หมอคู่คิดส์ เพื่อปรึกษาแพทย์ พยาบาล จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาได้ทันที ใช้งานง่าย คุยได้ตลอด ผ่านระบบแชทและวิดีโอคอล ดาวน์โหลดและปรึกษาเลยวันนี้! ทั้งในระบบ iOS และ Android
ลูกท้องเสีย ลูกอึสีนี้ […]
ไวรัส hMPV อันตรายกับเ […]