fbpx

“หมอคู่คิดส์” แอปฯ หมอเด็กออนไลน์

5 เรื่องเข้าใจผิดเรื่องสุขภาพ “ถ้าเด็กกินนมวัว”

นมวัว เด็ก

5 เรื่องเข้าใจผิดเรื่องสุขภาพ “ถ้าเด็กกินนมวัว”

โดย : หมอคู่คิดส์ | 30 เมษายน 2024 | บทความทางการแพทย์

Highlight
– นมวัวกินได้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
– เด็กก่อนวัยเรียนบริโภคนมวัว วันละ 3 แก้ว (แก้วละ 200 ซีซี) ส่วนเด็กวัยเรียนขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์และ ให้นมบุตร แนะนําให้บริโภคนมวัววันละ 2-3 แก้ว
– นมวัวสามารถให้เด็กกินควบคู่กับนมแม่ได้ หากคุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ
– เด็กที่กินนมวัวมีมวลกระดูกเพิ่มขึ้นทั้งร่างกายมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินนมวัว
– ไม่มีการศึกษาขนาดใหญ่ที่ยืนยันได้ว่า “เด็กกินนมวัวแล้วเกิดโรคออทิซึม”
– การจํากัดการบริโภคนมวัวในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ช่วยในการป้องกันโรคแพ้โปรตีนนมวัวในทารก

– ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ ระหว่างการที่เด็กได้รับนมวัวกับการเกิดโรคหอบหืด

ช่วงที่ผ่านมาพ่อแม่หลาย ๆ คนคงเต็มไปด้วยความกังวลและลังเลอยู่ไม่น้อย เกี่ยวกับการให้ลูกกินนมวัว ด้วยข้อมูลในโซเชียลมีเดียช่วงหลัง ๆ ที่ออกมาทำนองเดียวกันว่า “นมวัวทําลายสุขภาพ”

จริงอยู่สำหรับเด็กเล็ก #นมแม่ดีที่สุด เป็นสารอาหารจากธรรมชาติที่ให้ประโยชน์กับทารกสูงสุด ทั้งในแง่ของการเจริญเติบโตและช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ก็ใช่ว่าคุณแม่ทุกคนจะมีน้ำนมให้ทารกกินได้อย่างต่อเนื่อง …ปัญหาหลังคลอดแต่ไม่มีน้ำนม เป็นอะไรที่กวนใจพ่อแม่หลายคน อย่างไรก็ตามหมอคู่คิดส์ แอปฯ หมอเด็กออนไลน์ อยากลดความกังวลใจเหล่านั้น ด้วยการยืนยันว่า นมวัวสามารถให้เด็กกินควบคู่กับนมแม่ได้ หากคุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ และไม่ทำลายต่อสุขภาพเด็กแต่อย่างใด

เด็กกินนมวัว

เข้าใจให้ถูก! เด็กกินนมวัวได้ ไม่ทำลายสุขภาพ 

นอกจาก “นมวัว” จะไม่ได้ทำลายสุขภาพจริงตามข้อมูลที่แชร์กันในโซเชียลมีเดียแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเด็กหลายด้าน ยืนยันจากทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย ซึ่งออกมาให้เผยแพร่ “ผลของการบริโภคนมวัวต่อสุขภาพเด็ก” โดยอ้างอิงจากผลการศึกษาเชิงประจักษ์และหลักฐานทางการแพทย์ที่มีในปัจจุบัน ซึ่งสรุปความได้ดังต่อไปนี้

1.นมวัวกับภาวะกระดูกพรุน

นมวัวเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีนคุณภาพ แคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยให้เสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง อ้างอิงจาการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) พบว่า เด็กกลุ่มที่บริโภคนมวัวมีมวลกระดูกเพิ่มขึ้นทั้งร่างกายประมาณร้อยละ 3 เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้บริโภคนมวัว

นอกจากนี้นมวัวยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตในเด็ก อย่าง insulin-like growth factor 1 (IGF-1) ทั้งยังช่วยลดการสลายกระดูก ที่สำคัญการบริโภคนมวัวยังช่วยเสริมวิตามินดี เฉลี่ย 5 นาโนกรัม/มล. ซึ่งเทียบได้ประมาณหนึ่งในสี่ของระดับปกติในร่างกาย การที่เด็กได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอตามวัยตั้งแต่เด็ก จะช่วยทําให้ค่ามวลกระดูกเป็นไปตามเกณฑ์เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ช่วยป้องกันภาวะกระดูกบาง เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

 

นมวัวกินได้ไหม

2.นมวัวกับโรคมะเร็ง

นมวัวช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพราะประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิดที่อาจมีผลในการกระตุ้นหรือยับยั้งการเกิดมะเร็ง เช่น แลคโตเฟอริน วิตามินดี กรดไขมันสายสั้น กรดไขมันอิ่มตัว และ IGF-1

ที่สำคัญยังมีการทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ พบว่า มีหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอที่สนับสนุนว่า “การบริโภคนมวัวช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก” และยังไม่มีหลักฐานว่า การบริโภคนมวัวทําให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

นมวัว มะเร็ง

3.นมวัวกับโรคออทิซึม

ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาขนาดใหญ่ที่ยืนยันได้ว่า “เด็กกินนมวัวแล้วเกิดโรคออทิซึม” ในทางตรงกันข้าม การงดกินนมวัวในเด็กที่เป็นออทึซึมทำให้เกิดผลเสียชัดเจนกว่า เพราะนมวัวเป็นแหล่งของกรดอะมิโนจําเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโน-ทริปโตแฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นสารอาหารหลักในการสร้างฮอร์โมนซีโรโทนิน (Serotonin) ในร่างกาย ที่ช่วยในเรื่องการควบคุมอารมณ์ สุขภาพจิตดี อารมณ์ดี มีสมาธิ ช่วยในเรื่องการคิด การตัดสินใจและการปรับพฤติกรรม และช่วยในการนอนหลับให้ดี

นมวัว ออทิสติก

4.นมวัวกับโรคหอบหืด

เพียงร้อยละ 1.7 ของทารกและเด็กเล็กที่กินนมวัว “เกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว” ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองกับโปรตีนในนมวัว โดยอาการที่แสดงออกว่าแพ้พบได้หลายแบบ ทั้งผิวหนัง ทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร

ส่วนการกินนมวัวแล้วทําให้เกิดโรคภูมิแพ้นั้น องค์กรวิชาชีพทั่วโลกมีคําแนะนําว่า การจํากัดการบริโภคนมวัวในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ช่วยในการป้องกันโรคแพ้โปรตีนนมวัวในทารก รวมถึงการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมานล่าสุดไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ ระหว่างการที่เด็กได้รับนมวัวกับการเกิดโรคหอบหืด การหายใจลําบากมีเสียงหวีด โรคภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคแพ้โปรตีนนมวัว 

นมวัว ภูมิแพ้

5.เคซีน : โปรตีนหลักในนมวัว

เคซีน (Casein) เป็นโปรตีนหลักที่พบในน้ํานมวัว ทําหน้าที่จับกับแคลเซียมและฟอสเฟตแขวนลอยอยู่ในน้ํา ทําให้น้ํานมมีลักษณะสีขาวขุ่น สำหรับเด็กที่ไม่มีปัญหาการย่อยอาหารบกพร่องจะไม่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องจาก การบริโภคนมวัว

แพ้นมวัว

แนะนำให้เด็กกินนมวัว : แหล่งโภชนาการทางอาหาร

“นมวัว” นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือก เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ยกตัวอย่างง่าย ๆ นมวัวปริมาตร 100 ซีซี ให้พลังงานทั้งหมด 64-67 กิโลแคลอรี โปรตีน 3.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.7 กรัม (ส่วนประกอบหลักเป็นน้ําตาลแลคโตส) และไขมัน 3.7 กรัม (กรดไขมันส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว) มีแร่ธาตุและ มีแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ซีลีเนียม วิตามินบี 2 วิตามินบี 12 และกรดแพนโททีนิกซึ่งถูกดูดซึมได้ดี 

ดังนั้น ควรส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนบริโภคนมวัว วันละ 3 แก้ว (แก้วละ 200 ซีซี) ส่วนเด็กวัยเรียนขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์และ ให้นมบุตร แนะนําให้บริโภคนมวัววันละ 2-3 แก้ว

อ้างอิงข้อมูลจาก : เอกสารชี้แจงจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ร่วมกับสมาคมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย / กุมภาพันธ์ 2024

ทุกการกินของลูก ถามแอปฯ หมอคู่คิดส์

ถึงตรงนี้ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังไม่มั่นใจเรื่องการกินนมวัว ลูกกินนมแล้วอ้วก กินนมแล้วแพ้? 

สอบถามกุมารแพทย์และพยาบาลจากรพ.ชั้นนำได้โดยตรงได้ที่หมอคู่คิดส์ แอปฯ หมอเด็กออนไลน์ เราพร้อมตอบข้อสงสัย คลายทุกความกังวลใจตลอดกลางวันกลางคืน ถามง่ายได้ทั้งแชทและวิดีโอ ดาวน์โหลดและปรึกษาเลยวันนี้! ทั้งในระบบ iOS และ Android

โหลดแอปพลิเคชัน
และเริ่มปรึกษาได้เลย

“หมอคู่คิดส์” แอปฯ หมอเด็กออนไลน์

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม